อวตาร (สันสกฤต: अवतार, avatāra)
อวตาร (สันสกฤต: अवतार, avatāra) คือการแบ่งภาคมาเกิดบนโลกมนุษย์ของเทพเจ้าองค์ต่าง ๆ ตามความเชื่อของศาสนาฮินดู โดยเทพแบ่งพลังงานส่วนหนึ่งลงมาเกิดเป็นมนุษย์หรือสัตว์ เพื่อทำหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใด ในลัทธิไวษณพถือว่าเมื่อศีลธรรมของมนุษย์เสื่อมลง จนเกิดความเดือดร้อนไปทั่ว พระนารายณ์จะอวตารลงมาปราบยุคเข็ญ
การอวตารส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับพระนารายณ์ แต่ก็ยังมีที่เชื่อมโยงกับเทวดาอื่น ๆ รายชื่อของพระนารายณ์อวตารปรากฏในคัมภีร์ฮินดูจำนวนมากรวมทั้งอวตารทั้งสิบในครุฑ ปุราณะ และอวตาร 22 ปางในภควัตปุราณะ รวมทั้งที่เพิ่มอีกภายหลังจนนับไม่ถ้วน พระนารายณ์อวตารเป็นส่วนประกอบหลักของลัทธิไวษณพ หลักฐานเกี่ยวกับอวตารยุคแรก ๆ อยู่ในภควัทคีตา
มีเรื่องราวเกี่ยวกับอวตารของพระศิวะและพระพิฆเนศวร และเทพีต่าง ๆ โดยเฉพาะในหมู่ผู้นับถือลัทธิศักติ อย่างไรก็ตาม อวตารของพระนารายณ์เป็นที่รู้จักมากที่สุด
การอวตารของพระวิษณุ
"ทศาวตาร" หรือ "นารายณ์สิบปาง" หรือ อวตารทั้งสิบของพระวิษณุ ตามความเชื่อของศาสนาฮินดู ลัทธิไวษณพ (นับเวียนตามเข็มนาฬิกา) มัตศยาวตาร (ปลา), กูรมาวตาร (เต่า), วราหาวตาร (หมูป่า), วามนาตาร (พราหมณ์ค่อม), กฤษณาวตาร (พระกฤษณะ), กัลกยาวตาร (อัศวินม้าขาว), พุทธาวตาร (พระโคตมพุทธเจ้า), ปรศุรามาวตาร (รามผู้ถือขวาน), รามจันทรวาตาร (พระราม), นรสิงหาวตาร (นรสิงห์, คนครึ่งสิงห์) ส่วนรูปตรงกลางเป็นรูปพระกฤษณะและเหล่าสาวก
ความเชื่อเรื่องพระวิษณุอวตารมีที่มาจากคัมภีร์กลุ่มปุราณะซึ่งแต่งขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 6 แต่ละปุราณะได้ระบุอวตารไว้แตกต่างกันไปตามผู้ประพันธ์ โดยทั่วไปแล้วชาวฮินดูถือว่าอวตารที่สำคัญมีอยู่ 10 ปาง ได้แก่
ปางที่ 1 มัตสยาวตาร ภาพประกอบ (อวตารเป็นปลา) เพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์และสัตว์ให้พ้นจากน้ำท่วมโลก
ปางที่ 3 วราหาวตาร ภาพประกอบ (อวตารเป็นหมูป่า) มีสองตำนานหลักๆคือ 1) เพื่อปราบอสูรนาม "หิรัณยากษะ" ซึ่งลักเอาแผ่นธรณีไปโดยการม้วนแล้วเหน็บไว้ที่ข้างกาย และ 2) เพื่อยุติการประลองพลังอำนาจกันระหว่าง พระศิวะ และ พระพรหม
ปางที่ 4 นรสิงหาวตาร ภาพประกอบ (อวตารเป็นนรสิงห์) เพื่อปราบอสูรนาม "หิรัณยกศิปุ" ผู้เป็นน้องชายของ "หิรัณยากษะ"
ปางที่ 5 วามนาวตาร ภาพประกอบ (อวตารเป็นพราหมณ์เตี้ย) เพื่อปราบอสูรนาม "พาลี" ผู้เป็นเหลนของ "หิรัณยกศิปุ"
ปางที่ 6 ปรศุรามาวตาร ภาพประกอบ (อวตารเป็นพราหมณ์ผู้ใช้ขวานเป็นอาวุธ) เพื่อปราบกษัตริย์ (ผู้เป็นมนุษย์) นาม "พระเจ้าอรชุน" หรือ "พระเจ้าสหัสอรชุน" ผู้มีใบหน้า 1พันหน้า ผู้ก่อยุคเข็ญและทำลายล้างศาสนา
ปางที่ 7 รามาวตาร หรือ รามจันทราวตาร ภาพประกอบ (อวตารเป็นพระราม กษัตริย์แห่งอโยธยา) เพื่อปราบอสูรนาม "ราวณะ" หรือ "ราพณ์" หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในนาม "ทศกัณฐ์" กษํตริย์ แห่งกรุงลงกา - ปางนี้เป็นหลักในการจัด จารีต และ ขนบธรรมเนียม ประเพณีของสังคมอินเดีย
ปางที่ 8 กฤษณาวตาร ภาพประกอบ (อวตารเป็นพระกฤษณะ) เพื่อขับรถม้าให้ "พระอรชุน" และสอนวิถี และวิธีการดำเนินชีวิต ให้แก่พระอรชุน
ปางที่ 9 พุทธาวตาร ภาพประกอบ (อวตารเป็นพระโคตมพุทธเจ้า) เพือนำศิวลึงค์คืนจากยักษ์ตรีปุรัม (เนื่องจากพวกพราหมณ์ไม่สามารถเอาชนะพระพุทธศาสนาได้เลย ก็ได้ยกเอาพระพุทธเจ้ามาเป็นปางที่ 9 ของพระนาราย์เพื่อเป็นการทำลายความศรัทธาพระพุทธศาสนาในอินเดีย)
ปางที่ 10 กัลกยาวตาร หรือ กัลกิยาวตาร ภาพประกอบ (อวตารเป็นมนุษย์ผู้ขี่ม้าขาว หรือ กัลกี) เป็นอวตารที่ยังไม่เกิดขึ้น แต่เป็นการทำนายอนาคตไว้ว่า ในยามที่เป็นปลายแห่งกลียุค ที่ที่เมื่อผู้คนไม่รู้จักธรรมะ ไม่รู้ผิดชอบชั่วดีอีกต่อไป โลกทั้งโลกต้องเผชิญกับยุคเข็ญไปทุกหย่อมหญ้า จะมีบุรุษขี่ม้าขาวปรากฏตัวขึ้นเพื่อปัดเป่าความทุกข์ยาก และนำธรรมะกลับมาสู่มวลมนุษย์อีกครั้งหนึ่ง
ปางอื่น ๆ
อัปสราวตาร (อวตารเป็นนางอัปสร หรือ นางฟ้าผู้เลอโฉม)แบ่งออกเป็น ๒ ครั้ง
เพื่อหลอกล่อเหล่าอสูร เพื่อให้เหล่าเทวดาได้ดื่มน้ำอมฤตที่ได้จากการกวนเกษียรสมุทร เพื่อเทวดาจะได้เป็นอมตะและมีฤทธิ์เหนืออสูร
คราวจำแลงไปหลอกล่อให้นนทกรำตาม แล้วก็จบในท่า นาคาม้วนหาง เป็นท่าที่นนทกชี้นิ้วเพชรมาที่ขาของตนเอง ดังกลอนที่ว่า "ถึงท่านาคาม้วนหางวง ชี้ตรงถูกเพลาทันใด"
นารัตอวตาร (อวตารเป็นเทวฤษีนารัต) เพื่อให้ความรู้ สั่งสอน และชี้แนะแก่ มวลเทวะ มวลมนุษย์ และ หมู่มวลอสูร
*** ขอบคุณข้อมูล : จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น